ไขข้อข้องใจ การพิมพ์ออฟเซ็ตกับดิจิตอลต่างกันยังไง

โรงพิมพ์

ความแตกต่างกัน ระหว่างการพิมพ์ออฟเซ็ตกับดิจิตอล

โรงพิมพ์ ทุกที่ต่างแข่งกันโฆษณากันเรื่องเทคโนโลยีด้านระบบการพิมพ์ แต่คนที่สนใจจะพิมพ์กลับแทบไม่รู้ความต่างของระบบสองระบบนี้เลย จนบางครั้งก็เลือกไม่ถูกว่าแบบไหนดีระหว่างออฟเซ็ต หรือ ดิจิตอล ซึ่งงานพิมพ์ทั้งสองประเภทในปัจจุบันนั้น มีคุณภาพงานและมีมาตรฐานเท่าๆกัน แต่ต่างกันที่ราคา

จึงทำให้หลายคนเกิดความไม่แน่ในการตัดสินใจ ว่าควรเลือกระบบการพิมพ์แบบไหนให้เหมาะสมกับงานของตนเอง ซึ่งวันนี้ Fastboxs จะไขข้อข้องใจของท่านผู้อ่านทุกคน ซึ่งเราได้รวบรวมทั้งข้อมูลของลักษณะการพิมพ์และการเปรียบเทียบข้อดีของงานพิมพ์ในแต่ละประเภท

เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนที่กำลังมองหาโรงพิมพ์และระบบการพิมพ์ที่เข้ากับงานของเรา ทั้งนี้ก็เพื่อให้งานที่ออกมาเป็นไปตามความต้องการ ทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตที่เป็นส่วน สำคัญสำหรับธุรกิจที่เติบโตอยู่ตลอดเวลา และเราเป็นกำลังส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ คุณหาตัวเลือกในการผลิตได้เหมาะสมกับตัวคุณ และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงรวมถึงการใช้ต้นทุนให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

ระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ต (Offset Printing)

เริ่มจากระบบการพิมพ์ออฟเซ็ตที่มีคุณภาพสูง การพิมพ์ระบบนี้ถือเป็นมาตรฐานการพิมพ์ที่นิยมใช้กันทั่วไปในเรื่องของงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง ซึ่งจะเน้นความละเอียดของเม็ดสี สามารถใช้เม็ดสกรีนที่มีความละเอียดมากๆ การพิมพ์ออฟเซ็ตมาจากหลักการคิดเกี่ยวกับ “น้ำและน้ำมันไม่สามารถรวมตัวกันได้” ซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสองส่วน คือบริเวณที่ไม่มีภาพก็จะเป็นที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึก

พร้อมด้วยระบบทำความชื้นและระบบการจ่ายหมึกให้แก่แม่พิมพ์เมื่อมีการเคลื่อนไหว แม่พิมพ์จะหมุนไปรับน้ำ หรือ ความชื้นแล้วจึงไปรับหมึก เมื่อแม่พิมพ์รับหมึกในบริเวณภาพแล้ว จะหมุนลงไปถ่ายโอนไปให้โมผ้ายางแล้วจึงถ่ายลงวัสดุพิมพ์โดยมีโมกดพิมพ์เป็นตัวควบคุมน้ำหนักแรงกดทับ

หลักในการพิมพ์ของระบบออฟเซ็ต

ออฟเซ็ตเป็นระบบการพิมพ์พื้นฐานทั่วไปใน ระบบ 3 โม คือ

1.โมแม่พิมพ์

2.โมผ้ายาง

3.โมแรงกด

เครื่องพิมพ์มีหลายขนาด มีทั้งเครื่องพิมพ์ 1 – 5 สี หรือมากกว่านั้น สามารถพิมพ์ได้บนหลากหลายวัสดุไม่ว่าจะเป็นกระดาษ พลาสติก แผ่นโลหะ กระดาษ ไม้ ผ้า เหล็ก และพลาสติก เป็นต้น

ในปัจจุบันจัดได้ว่าระบบการพิมพ์ออฟเซ็ต เป็นระบบงานพิมพ์ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดเพราะให้คุณภาพของงานพิมพ์ที่สูง และราคาไม่สูงมาก เหมาะสําหรับใช้พิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ต้องการความรวดเร็วในการจัดพิมพ์ ต้องการความประณีต สวยงาม เป็นการพิมพ์หลายสี หรือภาพ4สีที่ต้องการความสวยงาม มีงานอาร์ตเวิร์กที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก และมีงบประมาณในการจัดพิมพ์เพียงพอ

ตัวอย่างงานพิมพ์ออฟเซ็ต เช่น พิมพ์แผ่นพับ พิมพ์ใบปลิว พิมพ์หนังสือ พิมพ์วารสาร พิมพ์นิตยสาร พิมพ์โบรชัวร์ พิมพ์แค็ตตาล็อก บรรจุภัณฑ์กระดาษ งานพิมพ์ใช้ในสํานักงาน ฯลฯ ซึ่งงานพิมพ์ที่ได้จะมีคุณภาพสูงจนถึงสูงมาก มีความคมชัด สีสัน สวยงาม และยังรองรับการพิมพ์สีพิเศษ

นอกจากนี้ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ตนั้น ต้นทุนการพิมพ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการพิมพ์ หมายความว่า ยิ่งพิมพ์เยอะต้นทุนต่อหน่วยก็ยิ่งถูกลงนั่นเอง

ระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล (Digital Printing)

การพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ โดยรับข้อมูลภาพจากคอมพิวเตอร์ เราจึงไม่ต้องมานั่งสร้างเพลทแยกสีในการพิมพ์เหมือนการพิมพ์แบบออฟเซ็ต จึงลดขบวนการทำที่ยุ่งยากไปได้มาก

จึงมีความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำงาน และมีคุณภาพงาน ซึ่งคุณภาพงานพิมพ์มีรายละเอียดใกล้เคียงกับระบบออฟเซ็ตมากจนแทบแยกไม่ออก และยังทำความเร็วได้ทันความต้องการ รวมถึงสามารถพิมพ์ได้หลากหลายวัสดุ เช่น กระดาษปอนด์,กระดาษอาร์ตมัน, กระดาษหนาไม่เกิน 300 แกรม,  สติกเกอร์PVC, แผ่นใส, ฉลากสินค้า, สติ๊กเกอร์โฮโลแกรม ฯลฯ

การพิมพ์แบบดิจิตอลสามารถสั่งพิมพ์ได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องพิมพ์ใช้คือ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ความเร็วปกติจนถึงความเร็วสูง  เครื่องพิมพ์อิ้งค์เจ็ทขนาดเล็กและใหญ่  และเครื่องพิมพ์ดิจิตอลใช้หมึกประจุไฟฟ้า ส่วนมาตรฐานงานพิมพ์นั้น จะมีระบบการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์เท่ากันในทุกๆ หน้า จึงได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับสีพื้นบ้างเล็กน้อย เช่น งานที่เป็นพื้นสีเดียวกัน สีพื้นของเนื้องาน จะไม่เรียบเนียน จะเห็นเป็นริ้วหรือขั้น ๆ บ้าง โดยเฉพาะสีฟ้า ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใส่พื้นผิวที่ไฟล์งาน หรือการใส่ลายให้กับสีพื้น ก็สามารถช่วยลดริ้ว หรือขั้นได้ จึงเหมาะกับงานที่ต้องแก้ไขหลายครั้ง

ข้อดีระบบการพิมพ์ดิจิตอล 

  • ใช้งบประมาณน้อยกว่า เพราะไม่ต้องทำเพลทพิมพ์ ซึ่งราคาโดยรวมเวลาจัดพิมพ์จะถูกกว่า
  • แก้ไขงานได้ง่าย ในกรณีที่ต้องการแก้ไขเนื้อหาข้อมูล ก็แค่ส่งไฟล์ใหม่มาแทนไฟล์เดิม ข้อมูลก็จะเป็นข้อมูลใหม่ แก้ไขได้ทันที
  • ประหยัดเวลาในการทำงาน ความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำฟิล์มและแม่พิมพ์ หากงานที่ต้องการนั้นเร่งด่วนก็เลือก แนะนำพิมพ์ระบบดิจิตอล
  • ประหยัดทรัพยากร เหมาะกับงานพิมพ์จำนวนน้อย ลดของเสียในกระบวนการผลิต เวลา,กระดาษ,หมึก,แรงงาน
  • มาตรฐานงานพิมพ์ มีระบบการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์เท่ากันในทุกๆ หน้า เนื่องจากไม่ต้องควบคุมหมึกและน้ำ เช่นการ พิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing) ที่ต้องใช้ผู้ควบคุมที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ

จากบทความที่ได้อ่านข้างต้น จะเห็นว่าระบบการพิมพ์ทั้งสองแบบนี้ก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป จึงทำให้ระบบการพิมพ์แต่ละประเภทเหมาะสมกับงานที่ต่างกันตามความต้องการของผู้ใช้งาน

ดังนั้นการพิจารณาเลือกระบบการพิมพ์แบบไหนดี ออฟเซ็ต หรือดิจิตอลนั้น จึงขึ้นอยู่กับลักษณะของงานพิมพ์ที่ต้องคำนึงถึงคุณภาพ, ระยะเวลา, ปริมาณและงบประมาณนั่นเอง