เตรียมไฟล์งานเพื่อความรวดเร็วในการพิมพ์
ขั้นตอนการเตรียมไฟล์งานให้กับโรงพิมพ์ การที่เรามีการเตรียมไฟล์งานต่างๆ ให้กับโรงพิมพ์นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้งานออกแบบของเรานั้นสามารถที่จะมีมาตรฐานและเป็นไปตามที่เราต้องการได้นั่นเอง แต่การออกแบบงานพิมพ์มาให้กับโรงพิมพ์นั้นก็จำเป็นมาก
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการออกแบบนั้นก็จะต้องได้ชิ้นงานของเราออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้นั่นเอง แถมการออกแบบในทุกวันนี้นั้นก็ได้มีเทคโนโลยีต่างๆ ในการออกแบบที่จะทำให้เรานั้นสามารถที่จะออกแบบได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น การออกแบบมันก็เลยจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมไฟล์งานให้กับโรงพิมพ์นั่นเอง
แต่ถ้าไม่สามารถออกแบบเองได้ทาง โรงพิมพ์กล่องFastboxs เรามีบริการออกแบบกล่องโดยทีมกราฟิกมืออาชีพ ในราคาที่ถูกมากๆ และสามารถเยี่ยมชมงานออกแบบของเราได้ที่ >> ผลงานออกแบบกล่อง
เทคนิคการเลือกโรงพิมพ์
แม้ว่าเราจะออกแบบงานพิมพ์มาดีขนาดไหน จะตรงคอนเซ็ปได้ดีหรือไม่นั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการออกแบบ คือการเลือกโรงพิมพ์นั่นเอง ดังนั้นในวันนี้เราก็จะมาพูดถึงเรื่องนี้กันรับรองเลยว่าเทคนิคและขั้นตอนต่างๆ ที่เรานำมาฝากกันก็จะเป็นประโยชน์ที่ดีในการออกแบบและเตรียมไฟล์งานให้กับโรงพิมพ์นั่นเอง
ดังนั้นเรามาดูกันเลยดีกว่านะครับว่า 4 ขั้นตอนในการเตรียมไฟล์งานให้กับโรงพิมพ์นั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งที่เรานำมาฝากกันนั้นก็จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางที่ดีสำหรับการออกแบบ
การเตรียมไฟล์งานสำหรับพิมพ์
การออกแบบต้องให้ความสำคัญ หากมีการออกแบบที่ผิดเพี้ยนไปเล็กน้อยอาจทำให้งานในทุกๆ ขั้นตอนนั้นไม่สามารถที่จะเป็นไปตามที่ได้วางไว้ได้ สิ่งที่สำคัญเลยที่เราต้องมีการเตรียมไฟล์งาน เพื่อส่งให้กับทางโรงพิมพ์
การที่เรามีการเตรียมไฟล์งานอย่างถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือได้นั้นแน่นอนก็จะทำให้การจัดทำในสิ่งต่างๆ นั้นก็จะเป็นไปตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้นั่นเอง โดยมันสามารถที่จะช่วยลดปัญหาต่างๆ ในการตรวจเช็คได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
1. โหมดของสีไฟล์งาน
เราควรตั้งไฟล์งานให้อยู่ในหมวด CMYK ซึ่งใน photoshop ควรตั้งค่าที่โหมดสีก่อนในขั้นตอนที่เราตั้งกระดาษ อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่ใช้โปรแกรม lllustrator ก็อย่าลืมตั้งด้วยนะครับเพราะบางทีหลายๆ คนก็มั่นใจในตัวโปรแกรมมากจนเกินไปดังนั้นก็ควรที่จะเช็คให้รอบคอบเสียก่อนเพื่อที่งานของเรานั้นจะได้ออกมาดีและตรงกับความต้องการ
2. ระยะของขอบกระดาษ
ควรที่จะมีการวัดระยะขอบให้พอดีกับชิ้นงาน ควรที่จะให้เป๊ะ เพื่อที่ชิ้นงานที่เราออกแบบนั้นมีความเรียบร้อย การตั้งค่าในส่วนนี้ตั้งได้จากตัวโปรแกรมเลย อย่างไรก็ตามหลายๆ คนก็ยังคงจะงงกับระยะขอบและระยะตัดตกกันอยู่ ซึ่งระยะขอบนั้นก็จะเป็นด้านในของชิ้นงาน เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย เพราะไม่ว่าเราจะวางอักษรไว้แบบไหนก็จะไม่โดนเครื่องตัดออกไปนั่นเอง
ส่วนระยะตัดตกนั้น ก็จะเป็นขอบงานที่ออกไป ซึ่งส่วนใหญ่นั้นก็มักจะเป็นพื้นหลังซะส่วนใหญ่นั่นเอง อย่างไรก็ตามนั้นในระยะของต่างๆ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มันมีความสำคัญเป็นอย่างมากนั่นเอง
ดังนั้นในการออกแบบทุกครั้งก็ควรที่จะตรวจเช็คในส่วนนี้ให้ดีๆ เสียหน่อยนะครับเพื่อที่งานออกแบบของเรานั้นจะได้ออกมาตรงกับความต้องการนั่นเอง
3. ฟอนต์ต่างๆ
ควรส่งฟอนต์ในการออกแบบมาด้วย ซึ่งถ้าหากฟอนต์ที่เราออกแบบไม่มีอยู่ในร้านจะทำให้เกิดปัญหาได้ เลือกฟอนต์ให้เหมาะสมกับชิ้นงานของเรานั่นเอง
ดังนั้นก็อย่าลืมนะครับเวลาที่เราส่งไฟล์งานให้กับทางโรงพิมพ์ก็จำเป็นที่จะต้องส่งฟอนต์แนบไปด้วย ก่อนที่เราจะส่งไฟล์งานในแต่ละครั้งก็ควรที่จะสอบถามและตรวจเช็คไฟล์งานของเราอีกครั้งด้วย เพื่อที่จะได้เช็ความถูกต้องและจะไม่มีความผิดพลาดต่อไปนั่นเอง
4. การกำหนดหรือการเซฟไฟล์งาน
ควรที่จะเซฟไฟล์งานให้สมเหตุสมผลกับความเป็นจริง ซึ่งถ้าเราทำมาดี จัดวางมาดี รับรองเลยว่างานออกแบบของเราก็จะเป็นที่ยอมรับและจะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะประทับใจกันอย่างแน่นอนนั่นเอง
อย่างไรก็ตามนั้นในการที่เราจะส่งไฟล์งานให้กับทางโรงพิมพ์ในส่วนของการเซฟไฟล์งานนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มันมีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยนะครับ เพราะถ้าเราทำมาดีจริงๆ งานที่เราต้องการที่เราได้ออกแบบมานั้นก็จะมีความสวยและสมบูรณ์เป็นอย่างมากอีกด้วย
สรุป
เอาเป็นว่าในการเตรียมไฟล์งานสำหรับงานพิมพ์นั้นก็จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ดี การทำงานต่างๆ ก็จะสามารถทำให้ทางโรงพิมพ์ทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามงานออกแบบที่ดีก็จะต้องมีความเตรียมพร้อมดัง 4 ขั้นตอนดังกล่าว ถึงแม้ในการเตรียมไฟล์งานนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากไปเสียหน่อยแต่รับรองเลยแหละครับถ้าออกแบบมาดีจริง สด มีความใหม่ งานพิมพ์ต่างๆ ของเราก็จะออกมาดีด้วยนั่นเอง