ฉลากสินค้า อีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการขาย

ฉลากสินค้า เป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จ

ฉลากสินค้า เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถสร้างสร้างแบรนด์ได้ไม่ต่างกับที่บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหัวใจหลักของการแข่งขัน ซึ่งการทำฉลากสินค้านั้นเป็นที่นิยมไม่น้อยในปัจจุบัน เนื่องจากราคาที่ถูกกว่าการทำบรรจุภัณฑ์และความสะดวกรวดเร็วในการผลิตและการใช้งานมากกว่า

ฉลากสินค้าจึงเป็นตัวเลือกที่ผู้ประกอบการหลายรายเลือกใช้กัน ซึ่งการออกแบบฉลากสินค้านั้นก็ต้องออกแบบให้มีความโดดเด่นสะดุดตา แต่ไม่ควรจะดูรกตาจนเกินไป นอกจากนี้ควรระบุข้อมูลของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้ชัดเจนและต้องทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย

ซึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดที่อาศัยการพิมพ์ฉลากสินค้านั้นต้องอาศัยการตั้งชื่อของฉลากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งการตั้งชื่อฉลากสินค้านั้นผู้ผลิตและผู้ขายอาจทำได้ทั้งในลักษณะตั้งชื่อเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่ขาย หรืออาจใช้ชื่อยี่ห้อเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ขายได้

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าชื่อยี่ห้อนั้น ๆ ติดปากผู้บริโภค ชื่อเสียงมีอยู่แล้วในตลาดและเหมาะสมกับชนิดผลิตภัณฑ์นั้นๆมากน้อยเพียงใด ซึ่ง Fastboxs เราได้จำแนกกลยุทธ์ทางการขาย โดยการตั้งชื่อฉลากสินค้าได้ 7 กลยุทธ์ดังนี้

7 กลยุทธ์ทางการขาย

  1. Individual brand – เป็นฉลากสินค้าเฉพาะของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ขาย ถ้าผู้ขายมีผลิตภัณฑ์หลายชนิดก็ตั้งชื่อฉลากสินค้าของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างกันไป  มักใช้กับสินค้าที่มีคุณภาพและรูปแบบต่าง ๆ กัน
  2. A blanket family brand – ผลิตภัณฑ์ทุกตัวใช้ชื่อเดียวกัน
  3. Separate family brand – เป็นฉลากสินค้าของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเดียวกันใช้ชื่อเดียวกัน  ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก็ตั้งชื่อฉลากสินค้าให้แตกต่างกันออกไป
  4. Company name combined with individual product name – เป็นชื่อยี่ห้อที่เกิดจากชื่อกิจกรรมรวมกับ ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มาจากกิจการใด การตั้งชื่อฉลากสินค้าแบบนี้จึงเป็นการบอก (generic name) ชื่อเสียงของกิจการไว้ในผลิตภัณฑ์ และป้องกันไม่ให้ชื่อฉลากสินค้าของผลิตภัณฑ์กลายเป็นชื่อยี่ห้อทั่วไป (gemeric name)
  5. Brand Extension – เป็นการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ / ผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ โดยชื่อใหม่ตั้งขึ้นมาจากการ ขยายจากชื่อ ทำให้กิจการประหยัดต้นทุนในการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดและทำให้ผู้บริโภครู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รวดเร็วขึ้น
  6. Multi brand – เป็นการตั้งชื่อยี่ห้อใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ตัวเดิม กิจการมักใช้กลยุทธ์นี้เมื่อผลิตภัณฑ์ที่ขายได้รับผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน ถ้าใช้ผลิตภัณฑ์ในชื่อเดิมแข่งขันจะกระทบถึงภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ กิจการจึงจำเป็นต้องใช้ยี่ห้อใหม่เข้ามาแข่งขันแทนเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด
  7. Brand Repositioning – เป็นการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์เมื่อปรับปรุงใหม่  ทั้งนี้เพื่อสร้างความซื่อสัตย์ในฉลากสินค้า Brand Loyalty ให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ผลกิจการควรปรับเปลี่ยนทั้งผลิตภัณฑ์และภาพผลิตภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ เช่น การเปลี่ยนปรับปรุงสูตรใหม่ หรือการทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อความทันสมัยและมีภาพลักษณ์ดีขึ้น
พิมพ์สติ๊กเกอร์โฮโลแกรมทิ้งชื่อแบรนด์

การจัดการฉลากสินค้า

รายละเอียดของข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์เรียกว่า ฉลากสินค้า (labeling) ปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมีบรรจุภัณฑ์ต้องปรากฏข้อมูลต่อไปนี้บนบรรจุภัณฑ์ด้วยทุกครั้ง ได้แก่

  • ชื่อตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์
  • ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์
  • วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์
  • ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์
  • ชื่อผู้ผลิต
  • วัน เดือน ปีที่ผลิต / วันหมดอายุ