Step by Step ขั้นตอนการทำกล่องกับโรงพิมพ์กล่องกระดาษ
By นักรบ ช่างพิมพ์ | 25/02/2018 | Blog
โรงพิมพ์กล่องกระดาษFastboxs เชื่อว่าทุกวันนี้หลายคนคงอยากทำธุรกิจส่วนตัวมากกว่างานประจำ แต่บางทีการเริ่มต้นก็ไม่ได้ง่ายเสมอไป โดยเฉพาะการทำกล่องบรรจุภัณฑ์ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าการทำกล่องสินค้าสักชิ้นนั้นต้องเริ่มจากอะไรมีไอเดียแต่อธิบายไม่ได้ ไปโรงพิมพ์กล่องกระดาษก็ไม่รู้ขั้นตอนการสั่งผลิตงาน เราเข้าใจในความรู้สึกนั้น จึงเขียนบทความเกี่ยวกับขั้นตอนการสั่งผลิตกล่องกับโรงงาน เพื่อผู้ที่กำลังเริ่มต้นและมองหา โรงพิมพ์กล่องกระดาษสำหรับผลิตภัณฑ์ของคุณ
ขั้นตอนการออกแบบ
1. ขนาดที่ต้องการ
ระบุขนาดที่ต้องการด้วยการวัดสินค้าของคุณ ด้วยการวัดแบบ กว้าง x ยาว x สูง (จะเป็นมาตรวัดใดก็ได้ cm, mm, inch) แต่ต้องระบุให้ตรงกันกับโรงพิมพ์กล่องกระดาษเพื่อป้องกันความผิดพลาด เฉพาะกล่องครีม, กล่องสบู่, กล่องอาหารเสริมที่เป็นกล่องขัดแบบก้นเสียบ ขนาดตอนกางออกของกล่องต้องไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (21 x 29.5)
2. ระบุสีที่ต้องการ
การพิมพ์กล่องจะมีตั้งแต่พิมพ์สีเดียว ไปจนถึงการพิมพ์ 4 สี ซึ่งการพิมพ์ 4 สี จะทำให้กล่องสวย ดูดีกว่าการพิมพ์สีเดียว แต่ทั้งนี้ การพิมพ์สีที่มากขึ้นก็จะมีราคาที่เพิ่มขึ้นตาม ซึ่งสีจะแบ่งออกเป็นสองหมวดหลักๆ คือ RGB และ CMYK ซึ่งเหมาะกับงานคนละประเภทกัน ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้คุยงานกับโรงพิมพ์กล่องกระดาษ
1. RGB มีแนวคิดมาจากการผสมแสงสีหลัก 3 สีเข้าด้วยกัน คือ แดง (RED) เขียว (GREEN) และ น้ำเงิน (BLUE) ซึ่งเมื่อผสมกันจะทำให้เกิดสีจำนวนมากและเมื่อนำมารวมกันที่ความเข้มสูงสุด จะได้สีขาว ส่วนใหญ่การใช้สีลักษณะนี้จะใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่นจอภาพ กล้อง ดิจิตอล เป็นต้น
2. CMYK มีแนวคิดมาจากระบบการพิมพ์ โดยภาพจะถูกแยกออกเป็นแม่พิมพ์ของสีหลักเพียง 4 สี คือ
– ฟ้า (CYAN)
– ม่วงแดง (MAGENTA)
– เหลือง (YELLOW)
– ดำ (BLACK) ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วจะได้สีดำ
3. ประเภทของกระดาษ
กระดาษที่ใช้ทำกล่องบรรจุภัณฑ์จะมีหลากหลายประเภท หลักๆที่นิยมใช้กันในโรงพิมพ์กล่องกระดาษก็จะมี 5 ประเภท เช่น
– กระดาษอาร์ตการ์ด – กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว, กระดาษอาร์ตการ์ดสองหน้า
– กระดาษการ์ดขาว
– กระดาษกล่อง – กระดาษกล่องแป้งหลังขาว, กระดาษกล่องแป้งหลังเทา
– กระดาษฟอยล์
– กระดาษคร๊าฟ (กระดาษน้ำตาล)
4. การเพิ่มเทคนิคพิเศษ
ซึ่งโรงพิมพ์กล่องกระดาษสามารถเพิ่มความพิเศษให้กล่องประเภทนี้ได้หลายวิธี เช่น
– อาบมัน หรืออาบด้าน ด้วยวานิชชนิดน้ำ เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับอาหาร (Food Grade)
– อาบน้ำยากันซึม (สามารถสัมผัสกับอาหารได้)
– เคลือบลามิเนต ด้วยฟิล์ม OPP มีทั้งแบบมัน และแบบด้าน
– เคลือบมันเฉพาะจุด (SPOT UV)
– การปั๊มแบบต่างๆ ปั๊มนูน, ปั๊มเค, ปั๊มทอง เป็นต้น
5. รูปแบบเสริม
รูปแบบเสริมจะเป็นตัวเลือกให้กับกล่องที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ หรือกล่องที่ต้องการความโดดเด่นเช่น การทำกล่องป๊อปอัพ, การเจาะรูปให้เห็นสินค้าภายใน หรือจะเป็นตัวล็อกสินค้าในกล่อง โรงพิมพ์กล่องกระดาษก็สามารถทำให้ได้อย่างง่ายดาย เพียงแต่ลูกค้าต้องระบุความต้องการให้ชัดเจน
6. จำนวนกล่อง
จำนวนกล่องต้องคำนวณจากยอดการสั่งซื้อสินค้า หรือถ้าหากยังไม่มีฐานลูกค้าก็ต้องดูจากกลุ่มเป้าหมายว่ามีกำลังซื้อมากแค่ไหน นอกจากนี้ก็ยังต้องสำรวจคู่แข่งอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้จัดทำใบประเมินราคาเพื่อส่งให้โรงพิมพ์กล่อง เพื่อชำระเงินและพิมพ์กล่องออกมา
ที่ โรงพิมพ์กล่องFastboxs เรามีบริการ ออกแบบกล่องโดยทีมงานมืออาชีพ สามารถคุยดีไซน์งานกับเราก่อนเริ่มงานได้ ราคาเป็นกันเอง
ขอบคุณภาพประกอบจาก : DesignforPrint